แบบฝึกหัดบทที่7
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ 
(Decision Support System)




1. DSS คืออะไร
ตอบ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเป็นระบบที่มีการนำมาใช้งานนานแล้วโดยเริ่มแรกจะใช้ลักษณะเป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของระบบจัดการทั่วไป ที่เรียกว่า ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ซึ่งเป็นระบบที่จัดหาสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ให้แก่ผู้ยริหารระดับต้นในการบริหารดำเนินงานในแต่ละวัน และให้เป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารระดับกลางในการควบคุมการดำเนินการต่างๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานหรืองบประมาณที่ได้กำหนดไว้ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจถือได้ว่าเป็นระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการแบบใหม่ที่ช่วยผู้บริหารระดับสูงในการตัดสินใจแก้ปัญหาแบบมีโครงสร้างและแบบกึ่งโครงสร้าง จึงมีบทบาทเสมือนเป็นเครื่องมือที่ทำให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจได้ถูกต้องมากขึ้น

2. DSS มีกี่ประเภทอะไรบ้าง จงอธิบายแต่ละประเภท

ตอบ ประเภทของDSS มี 14 ประเภท
1. การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง (Structure Decision ) การตัดสินใจลักษณะนี้จะเป็นการตัดสินใจที่มี
กฏเกณฑ์ตายตัว เช่นการคิดค่าปรับในการลงทะเบียนล่าช้า การคิดภาษามูลค่าเพิ่มสินค้าชนิดที่ต้องมี
VAT กรณีการตัดสินใจลักษณะนี้ จะเป้ฯการตัดสินใจในระดับ TPS ซึ่งเรามักจะใช้เป็นกฏในการกำหนด
ในตัว Software ที่ปฏิบัติงานเพื่อเป็นการลดภาระงานของมนุษย์ เรามักจะเรียกการตัดสินใจในรูปแบบนี้
ว่า Programmable Decision
2.การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง(Semi Structure) การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง เป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรจำนอนมากด้วยเหตุผลนี้ผู้บริหารระดับสูงซึ่งทำการตัดสินใจจึงต้องมีทักษะเป็นอย่างดีเมื่อประสบปัญหาสามารถมองหาลู่ทางและตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วโดยอาศัยประสบการณวิจารณญาณไหวพริบ ปฏิญาณและความชำนานในการแก้ปัญหาตัวอย่างการตัดสินใจประเภทนี้เช่นการตัดสินใจขยายโครงการการตกลงใจผลิตสินค้าชนิดใหม่เป็นต้นถึงแม้ว่าการกตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้างไม่สามารถเขียนเป็นขั้นตอนได้แต่ปัจจุบันมีผู้พยายามจัทำโปรแกรมช่วยสนับสนุนการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้างขึ้นคือโปรแกรมระบบผู้เชี่ยวชาญโปรแกรมระบบผู้เชี่ยวชาญนั้นสามารถช่วยแก้ปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างได้ปัญหาของการตัดสินใจแบบนี้เป็นปัญหาที่มีโครงสร้างไม่แน่นอนหรือตายตัวมีความชัดเจนเพียงบางส่วนของปัญหา
3. การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง (Non Structure Decision) ลักษณะการตัดสินใจประเภทนี้จะใช้ สำหรับผู้บริหารระดับสูงในระดับกลยุทธ (Selecting Strategies ) ตัวอย่างการกำหนดกลยุทธด้านการขายในรูปแบบต่างๆ ในลักษณะเช่นนี้ สารสนเทศจะมีส่วนสนับสนุนบ้างแต่น้ำหนักจะไปตกกับศิลปและประสบการณ์ของผู้บริหารเป็นส่วนใหญ่ ระบบนี้จะอยู่ในระดับ ESS (Executive Support System) ตัวอย่างเช่นการกำหนดทิศทางในการดำเนินงานอีก 10 ปีข้างหน้าของบริษัท โดยการดูจากค่าพยากรณ์ในอนาคต
4. สนับสนุนการตัดสินใจที่เกี่ยวเนื่องและซับซ้อน ( Complexity) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจระบบหนึ่งๆ จะมีแบบจำลองของการตัดสินใจหลายแบบ ซึ่งแบบจำลองของการตัดสินใจจะเกี่ยวเนื่องกันในลักษณะที่แก้ปัญหาจากปัญหาง่ายๆ ไปยังปัญหาที่ซับซ้อนได้ ในระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ซับซ้อนมากจะมีแบบจำลองของการตัดสินใจที่ง่ายรวมอยู่ เช่น แบบจำลองทางการเงินเป็นแบบจำลองที่มีระดับความซับซ้อนมาก แต่ภายในแบบจำลองก็จะมีการแก้ไขปัญหาในระดับที่ไม่ซับซ้อนอยู่ด้วย โดยจะมีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาทั่วๆ ไปเอาไว้ด้วย เช่น สามารถวิเคราะห์จุดคุ้มทุนของการผลิตสินค้าในกรณีที่มีตัวแปรไม่มากนัก ไปจนถึงการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนในกรณีที่มีตัวแปรมากมายเข้ามาเกียวข้อง
5. สนับสนุนงานผู้เชี่ยวชาญ (Support Expert) การออกแบและทางเลือก ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสนับสนุนการทำงานทุกขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจ ได้แก่ งานผู้เชี่ยวชาญ โดยสามารถสะสมความรุ้ไหม่เข้าไปเก็บไว้ในฐานข้อมูลความรู้ของผู้เชี่ยวชาญ สามารถออกแบบระบบสนับสนุนการตัดสินใจได้โดยการระบุทางเลือก การเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหา การค้นหาข้อมูลในการแก้ปัญหา และการนำไปปฏิบัติได้จริง
6. สนับสนุนกระบวนการตัดสินใจที่มีการนำข้อมูลจากระบบต่างๆ มาใช้ ( Data Ware House) โดยจะพิจารณาความสอดคล้องกันระหว่างวิธีการตัดสินใจแต่ละคนกับระบบงานย่อยต่างๆ ที่ทำงานภายใต้สภาวะแวดล้อมของระบบสนับสนุนการตัดสินใจเดียวกัน โดยระบบจะประมวลผลข้อมูลตามความต้องการของลักษณะงานมากกว่าประมวลผลตามสายงานของแต่ละแผนก โดยทั่วไปข้อมูลที่แผนกหนึ่งจัดเก็บรวบรวมไว้จะมรแผนกอื่นๆ ต้องการนำไปใช้ด้วย หากไม่ต้องการให้เกิดการจัดเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนก็ควรกำหนดให้มีการแบ่งปันข้อมูลกันใช้ นั่นคือ การออกแบบระบบให้มองเห็นเป้าหมายของหน่อยงานโดยรวมมากกว่าเน้นที่เป้าหมายของแผนกใดแผนกหนึ่ง การจัดระบบเช่นนี้เป็นประโยชน์มากเพราะผู้บริหารในแผนกต่างๆ สามารถเข้าถึงระบบและข้อมูลร่วมกันได้โดยไม่ต้องเสียเวลาและทรัพยากรเพื่อจัดทำระบบของตเองขึ้นมาใหม่
7. ยืดหยุ่นและง่ายต่อการเปลี่ยนแปลง ( Flexibility ) เมื่อผู้บริหารใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจไประยะหนึ่งก็จะมีข้อมูลเข้ามาสุ่ฐานข้อมูลมากขึ้น แบบจำลองการตัดสินใจก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามข้อมูลที่เข้าสู่ระบบ ผุ้ใช้สามารถปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนรูปแบบของหน้าที่พื้อฐานในระบบเสียใหม่ ซึ่งยังคงให้มีลักษณะการดต้ตอบอย่างรวดเร็วต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้เหมือนเดิม ระบบสนับสนุนการตัดสินใจมีความสามารถในการวิเคราะห์แบบเร่งด่วนได้อย่างทันทีทันใด เมื่อข้อมูลเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ผู้ใช้ระบบไมต้องแก้ไขแบบจำลองทั้งหมดของระบบ ระบบจะมีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนแบบจำลองเองอย่างเหมาะสม อาจกล่าวได้ว่าระบบมักถูกออกแบให้รองรับกับข้อมูลที่หลากหลายได้
8. ง่ายต่อการใช้งาน ( Ease of Uses ) ผู้ใช้ระบบสามารถใช้งานระบบได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องแก้ไขแบบจำลองทั้งหมดของระบบ ในกรณีที่ปัญหามีลักษณะคล้ายกับปัญหาเดิมและได้มีการสร้างแบบจำลองของปัญหานั้นไว้แล้ว ผู้ใช้สามารถนำแบบจำลองนั้นมาทำการเปลี่ยนค่าตัวแปรต่างๆ เท่านั้น การออกแบบระบบได้รองรับความหลากหลายของความต้องการของผู้บริหารไว้แล้ว นอกจากนี้แล้วระบบยังมีการนำเอาภาพกราฟฟิกมาสร้างส่วนต่อประสานผู้ใช้ ( graphic user interface : GUI ) ซึ่งง่ายต่อการใช้งาน และง่ายต่อการโต้ตอบกับระบบ ซึ่งช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานของระบบดีขึ้น
9. เน้นประสิทธิภาพในการตัดสินใจ (Efficient DSS) ระบบสันบสนุนการตัดสินใจเป็นระบบที่พยายามจะปรับปรุงปีะสิทธิผลของการตัดสินใจให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ โดยเน้นในเรื่องความถูกต้อง ทันการณ์และมีคุณภาพมากกว่าที่จะเน้นในเรื่องการประหยัดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรในระบบและค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเสียเวลาของการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์หรืออาจกล่าวได้ว่า รับบสนับสนุนการตัดสินใจเน้นวัตถุประสงค์ของการตัดสินใจโดยไม่คำนึงถึงต้นทุนที่เกิดขึ้น
10. เป็นการตัดสินใจและควบคุมโดยคน (Assist Manager) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ออกแบบมีหลายรูปแบบที่อำนวยความสะดวกให้ผู้บริหารสามาถควบคุมกรรมวิธีการตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างสมบูรณ์ทุกขั้นตอนโดยระบบจะถูกควบคุมด้วยคนตั้งแต่การกำหนดปัญหา การแก้ไขปัญหา การออกแบบการสร้างแบบจำลองที่ใช้ในการตัดสินใจ เช่น ในระบบการควบคุมสินค้าคงคลัง แล้วจัดสร้างแบบจำลองการกำหนดสินค้าใหม่ขึ้น ซึ่งในแบบจำลองนี้ผู้ควบคุมสามารถใช้วิธีวิเคราะห์แบบ “ จะเกิดอะไรขึ้นถ้า… “ ( what-if analysis ) เป็นการตั้งข้อสมมติฐานบางอย่างเกี่ยวกับข้อมุลสินค้าผู้ควบคุมสินค้านำตัวแปรที่เกี่ยวข้องเข้ามาใช้ในแบบจำลองการกำหนดการสั่งซื้อสินค้าใหม่
11. สนับสนุนให้เกิดวิวัฒนาการทางการเรียนรู้เพิ่มขึ้น เป็นระบบที่นำไปสู่การเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้นเพราะมีแนวทางใหม่ในการตัดสินใจเกิดขึ้นอยุ่ตลิดเวลา แนวทางใหม่ที่เกิดขึ้นนั้นจะถูกนำไปปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับการตัดสินใจ ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้เพิ่มขึ้น
12. สนับสนุนให้ผู้ใช้สามารถสร้างระบบง่ายๆ ได้ด้วยตัวเอง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ดีควรอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้สร้างระบบง่ายๆ ได้ด้วยตัวเอง เช่น สามารถสร้างระบบการคิดคำนวณต้นทุนสินค้าโดยจัดทำสมการค่าตัวแปรต่าง ที่มีผลต่อต้นทุนได้
13. มีการสร้างแบบจำลอง ( Modeling ) ในระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะมีการใช้ประโยชน์จากแบบจำลองที่อาจเป็นแบบจำลองมาตรฐานทั่วไป หรือแบบจำลองที่สร้างขึ้นมาสำหรับงานประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ แบบจำลองเหล่านี้จะมีความสามารถช่วยให้ผู้บริหารได้ทำการทดลองกลยุทธ์ต่างๆ ของตนเองภายใต้สถานการณ์ที่แตกต่างกันได้
14. เป็นศูนย์รวมความรู้ (Knowledge Center ) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจบางระบบจะมีระบบฐานความรู้ ( knowledge base ) เป็นส่วนประกอบ ซึ่งระบบฐานความรุ้เป็นข้อมูลที่รวบรวมไว้ใช้ในการแก้ปัญหา เพื่อใช้เป็นบานในการตัดสินใจของระบบผู้เชียวชาญ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่มีระบบบานความรู้เป็นองค์ประกอบจะทำให้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจนั้น สามารถเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนให้กับผู้บริหารในการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น




3. DSS กับ MIS แตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย

ตอบ ความแตกต่างระหว่าง DSS กับ MIS มีดังนี้
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจDSS
ประโยชน์ : ใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่ตามปัจจัยที่แตกต่างกันไป
ผู้ใช้ : ผู้บริหารและที่ปรึกษา
เป้าหมาย : เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
ข้อมูลที่ใช้ : ปัจจุบัน,อนาคต
วัตถุประสงค์ของการใช้ : มีความยืดหยุ่นสามารถปรับปรุงให้เข้ากับสถานการณ์และปัญหาได้

ระบบประมวลผลรายการ MIS
ประโยชน์ :ใช้กับการประมวลผลประจำ
ผู้ใช้ : พนักงานทั่วไป
เป้าหมาย :เพื่อตอบสนองการดำเนินงานประจำวัน
ข้อมูลที่ใช้ : อดีต
วัตถุประสงค์ของการใช้ : มีลักษณะที่คงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม