แบบฝึกหัดบทที่ 6
แบบฝึกหัดบทที่ 6
1.ระบบสาระสนเทศในองค์กรคืออะไร มีกี่ประเภทอะไรบ้าง จงอธิบายแต่ละประเภท พร้อมยกตัวอย่าง
ประกอบ
ตอบ ระบบสารสนเทศสามารถถูกนำมาเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการดำเนินงานขององค์การ บางระบบอาจเปลี่ยนแปลงความสมดุลทางสิทธิ ภาระหน้าที่ และความรับผิดชอบที่เคยมี ในขณะเดียวกันองค์การเองก็มีผลกระทบต่อการออกแบบระบบสารสนเทศ และเป็นผลกระทบต่อระบบสารสนเทศต่อองค์การ
ระบบสารสนเทศที่เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายช่วยให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างองค์การได้ และมีการ
สร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์การและคู่ค้าซึ่งเป็นการกำหนดขอบเขตการดำเนินงานใหม่
เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตได้กลายมาเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานที่ถูกนำมาสร้างเป็นโครงสร้างของ
ระบบสารสนเทศภายในองค์การ ระบบอินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วและส่งเสริมการพาณิชย์
อิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในการสร้างช่องทางการตลาด การขาย และให้การสนับสนุนลูกค้า
ประเภทของระบบสารสนเทศ (Types of Information Systems) ระบบของสารสนเทศที่สำคัญ 3ประเภท ดังนี้
1. ระบบสารสนเทศจำแนกตามประเภทของธุรกิจ มีการออกแบบให้สอดคล้องและเหมาะสมกับลักษณะงานขององค์การ เป็นระบบสารสนเทศขนาดใหญ่ประกอบด้วยระบบสารสนเทศที่จำแนกตามหน้าที่ย่อย ๆ หลายระบบ เช่น ระบบบัญชี ระบบจัดการห้องพัก
2. ระบบสารสนเทศจำแนกตามหน้าที่ของงาน เป็นระบบที่จำแนกตามลักษณะ หรือหน้าที่ของงานหลัก ประกอบด้วยระบบสารสนเทศย่อย ๆ ที่เป็นกิจกรรมของงานหลัก เช่น ระบบสารสนเทศจัดการทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วยระบบย่อย ได้แก่ ระบบจัดการข้อมูลพนักงาน ระบบการสรรหาและคัดเลือก เป็นต้น
3. ระบบสารสนเทศจำแนกตามลักษณะการดำเนินงาน ระบบสารสนเทศ ออกแบบให้มีความสอดคล้องกับลักษณะงาน และระดับของผู้ใช้งาน ประกอบการบริหารและตัดสินใจ ระบบสารสนเทศที่อิงคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น6 ประเภท ดังนี้
(1) ระบบสารสนเทศประมวลผลธุรกรรม (Transaction Processing System : TPS) เป็นระบบสารสนเทศประเภทแรกที่นิยมนำมาใช้เพื่อการประมวลผลที่รวดเร็ว ลดค่าใช้จ่าย ปรับปรุงให้บริการลูกค้า ที่ทำหน้าที่รวบรวม บันทึกข้อมูลในแฟ้มข้อมูลและประมวลผลข้อมูลที่เกิดจากการทำธุรกรรม และการปฏิบัติงานประจำขององค์การเพื่อนำไปจัดทำระบบสารสนเทศ ปัจจุบันได้มีการพัฒนาระบบการประมวลผลธุรกรรมที่ลูกค้าสามารถป้อนข้อมูล และประมวลผลรายการด้วยตนเองได้ เรียกระบบสารสนเทศลักษณะนี้ว่า Customer Integrated Systems : CIS เช่น ระบบฝาก–ถอนเงินจากเครื่องอัตโนมัติ (Automated Teller Machines :ATM) ลักษณะการประมวลผลข้อมูลของ TPS แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1.1 การประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch Processing) เป็นการประมวลผลที่ข้อมูลจะถูกรวบรวม และสะสมไว้ระหว่างช่วงเวลาที่กำหนด แล้วจึงประมวลผลรวมกันเป็นครั้งเดียว ถึงแม้ว่าการป้อนข้อมูลจะเป็นแบบออนไลน์มีการบันทึกข้อมูลทีนที แต่ข้อมูลที่ป้อนนี้ยังไม่ประมวลผล เช่น การประมวลผลข้อมูลการใช้กระแสไฟฟ้า น้ำประปา ซึ่งประมวลผลเดือนละครั้ง
1.2 การประมวลผลแบบทันที (Real-Time Processing) เป็นการประมวลผลแต่ละรายการ และให้ผลลัพธ์ทันทีเมื่อมีการป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบ เช่นการซื้อบัตรเข้าชมภาพยนตร์ที่เคาน์เตอร์ การประมวลผลแบบทันทีถ้าเป็นการประมวลผลรายการแบบออนไลน์จะเรียกว่า Online Transaction Processing: OLTP การประมวลผลแบบทันทีเป็นแบบออนไลน์ เช่น การจองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น
(2) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System: MIS) เป็นระบบสารสนเทศที่ประมวลผล และสรุปจากแฟ้มข้อมูลที่ได้จาก TPS เพื่อจัดทำสารสนเทศตามความต้องการของผู้บริหารสำหรับนำไปใช้ในการวางแผนประกอบการตัดสินใจ เป็นรายงานสรุปค่าสถิติต่าง ๆ อาจนำเสนอในรูปของตาราง หรือกราฟเปรียบเทียบ เพื่อความสะดวก ง่ายต่อการทำความเข้าใจ สามารถจำแนกได้ 4 ประเภท ดังนี้
2.1 รายงานที่จัดทำตามระยะเวลาที่กำหนด (Periodic Reports) จัดทำขึ้นตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า อาจทำทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน
2.2 รายงานสรุป (Summarized Report) จัดทำเพื่อสรุปการดำเนินงานโดยภาพรวม
2.3 รายงานที่จัดทำตามเงื่อนไขเฉพาะ (Exception Report) จัดทำตามเงื่อนไขพิเศษที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จัดทำรายงานตามปกติ เพื่อให้ผู้บริหารได้ใช้สารสนเทศ และตัดสินใจอย่างทันเวลา
2.4 รายงานที่จัดทำตามต้องการ (Demand Reports) จัดทำเมื่อผู้บริหารมีความต้องการในรายงานนั้น ๆ
(3) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems: DSS) เป็นระบบสารสนเทศที่นำข้อมูลจากฐานข้อมูลต่าง ๆ มาใช้ในการตัดสินใจ เป็นการเน้นการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้สารสนเทศเป็นพื้นฐาน ช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจการดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง หรือ "do the right thing"
ลักษณะที่สำคัญของ DSS คือ เป็นระบบที่ให้สารสนเทศอย่างรวดเร็วต่อการตัดสินใจ ใช้แก้ปัญหาและกำหนดกลยุทธ์ ควรออกแบบในลักษณะที่โต้ตอบ ปัจจุบันได้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาของกลุ่ม เรียกระบบนี้ว่า
ระบบสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจกลุ่ม (Group Decision Support System: GDSS) ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศที่นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการนำเสนอ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ระดมความคิด วิเคราะห์และการแก้ไขปัญหาเพื่อหาแนวทาง หรือรูปแบบในการตัดสินใจร่วมกันของกลุ่ม เช่น การประชุมทางไกล การลงคะแนนเสียง เป็นต้น
ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information Systems: GIS) เป็นระบบสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งของสถานที่ และเส้นทางการเดินทาง ประกอบด้วย
· ฐานข้อมูลเชิงปริมาณ และคุณภาพเพื่อนำมาแสดงผลในรูปสารสนเทศ
· ฐานข้อมูลแผนที่
· โปรแกรมที่นำเสนอสารสนเทศบนแผนที่ดิจิทัล
(4) ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems: EIS หรือ Executive Support Systems: ESS) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาแนวโน้ม และการวางแผนกลยุทธ์ เป็นระบบที่มีความยืดหยุ่น และคล่องตัวสูง EIS สามารถเข้าถึงสารสนเทศจากฐานข้อมูลภายในและภายนอกองค์การ นำเสนอสารสนเทศที่ได้จากการวิเคราะห์ในรูปของรายงาน ตาราง และกราฟ สรุปสารสนเทศให้ผู้บริหารได้เข้าใจง่าย และประหยัดเวลา
(5) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) และระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems: ES) เป็นความพยายามที่จะพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ให้สามารถปฏิบัติงานได้เหมือนกับมนุษย์ AI มีหลายสาขา เช่น การประมวลผลภาษาธรรมชาติ ระบบการมองเห็น ระบบการเรียนรู้ เครือข่ายเส้นประสาท ระบบผู้เชี่ยวชาญ
ปัญญาประดิษฐ์ มีข้อจำกัดมากกว่าการใช้ปัญญามนุษย์ ในองค์กรธุรกิจนำมาประยุกต์ใช้งานเพื่อการรักษาความรู้ของผู้เชี่ยวชาญที่อาจสูญเสีย หรือสูญหายไป ช่วยขยายฐานความรู้ขององค์การในการให้คำแนะนำแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน ช่วยลดภาระงานประจำที่มนุษย์ไม่มีความนำเป็นต้องทำ
ระบบผู้เชี่ยวชาญ หรือระบบฐานความรู้ เป็นระบบที่รวบรวมและจัดเก็บความรู้และประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญ ช่วยในการหาข้อสรุป และคำแนะนำ เช่น การรักษาโรคของแพทย์ ES ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก ได้แก่
· ส่วนติดต่อกับผู้ใช้หรือบทสนทนา
· ฐานความรู้ เป็นกลุ่มของข้อเท็จจริง
· กลไกอนุมาน ใช้สำหรับการค้นหาสารสนเทศจากฐานความรู้
(6) ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information Systems: OIS) หรือระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems: OAS) เป็นระบบสารสนเทศที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ปฏิบัติ และผู้บริหาร เช่น การจัดทำเอกสาร รายงาน จดหมายธุรกิจ
ระบบสำนักงานอัตโนมัติ แบ่งได้ 5 ประเภท คือ ระบบจัดการเอกสาร, ระบบการจัดการข่าวสาร , ระบบการทำงานร่วมกัน/ประชุมทางไกล ,ระบบการประมวลภาพ , ระบบจัดการสำนักงาน
OIS ใช้โปรแกรมพื้นฐานทั่วไปเพื่อสนับสนุนการทำงาน เช่น โปรแกรมตารางคำนวณ โปรแกรมประมวลผลคำ โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ ใช้เพื่อการสื่อสาร
2.MIS หรือ DSS แตกต่างกันอย่างไร
ตอบ MIS DSS
- รายงานสรุปจากทรานแซคชั่น - จัดหาข้อมูลและโมเดลเพื่อการตัดสินใจ - การแก้ปัญหาแบบมีโครงสร้างซํ้าๆ - ทำงานแบบโต้ตอบ - ผลิตรายงานประจำ - การแก้ปัญหาแบบกึ่งโครงสร้าง
- ใช้เครื่องมือวิเคราะห์ตัวอย่าง - ใช้การจำ ลองแบบและโมเดลวิเคราะห์
3.ในปัจจุบันระบบAI ถือว่ามีความสำคัญมากต่อการดำเนินธุรกิจ จงอธิบายว่า AI คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร พร้อมยกตัวอย่างของธุรกิจที่นำระบบ AI เข้ามาดำเนินธุรกิจ
- รายงานสรุปจากทรานแซคชั่น - จัดหาข้อมูลและโมเดลเพื่อการตัดสินใจ - การแก้ปัญหาแบบมีโครงสร้างซํ้าๆ - ทำงานแบบโต้ตอบ - ผลิตรายงานประจำ - การแก้ปัญหาแบบกึ่งโครงสร้าง
- ใช้เครื่องมือวิเคราะห์ตัวอย่าง - ใช้การจำ ลองแบบและโมเดลวิเคราะห์
3.ในปัจจุบันระบบAI ถือว่ามีความสำคัญมากต่อการดำเนินธุรกิจ จงอธิบายว่า AI คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร พร้อมยกตัวอย่างของธุรกิจที่นำระบบ AI เข้ามาดำเนินธุรกิจ
ตอบ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence : AI) หมาย ถึง การทำให้คอมพิวเตอร์สามารถคิดหาเหตุผลได้ เรียนรู้ได้ ทำงานได้เหมือนสมองมนุษย์ หรือการพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีลักษณะการทำงานใกล้เคียงกับระบบการประมวล ผลและ การตอบสนองของมนุษย์ที่มีต่อแต่ละสถานการณ์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถปฎิบัติงานแทนที่มนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น หุ่นยนต์ หรือ robot เป็นต้น
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence : AI) คือ ความพยายามในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ (ทั้งฮาร์ดแวร์ และ ซอฟต์แวร์) ให้มีพฤติกรรมเลียนแบบมนุษย์ ระบบต่างๆจะต้องมีความสามารถเข้าใจภาษามนุษย์ ทำงานที่ต้องใช้การประสานงาน ระหว่างส่วนต่างๆ (โรโบติก – robotics) ใช้ อุปกรณ์ที่สามารถรับทราบ และตอบสนอง ด้วยพฤติกรรม และภาษา (ระบบการมอง และ การออกเสียง) การเลียนแบบความเชี่ยวชาญและการตัดสินใจของมนุษย์ (ระบบผู้เชี่ยวชาญ) ระบบดังกล่าวยังต้องแสดง ความสามารถทางตรรกะ การใช้เหตุผล สัญฃาตญาณ และใช้หลักการสมเหตุสมผล (common sense) ที่มีคุณภาพ ในระดับเดียวกับมนุษย์
รูปแสดงองค์ประกอบต่างๆ ของระบบปัญญาประดิษฐ์ อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ เครื่องจักรชาญฉลาด (intelligent machine) หรืออุปกรณ์ที่แสดงความสามารถที่กล่าวถึงนี้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น