บทที่5 อินเทอร์เน็ตและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ความหมายของอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networks) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ซึ่งเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึงกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่อมต่อ
สื่อสารด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครือข่ายขึ้นไปที่เชื่อมต่อกัน
จะเรียกว่า Internetwork หรือ Internet
ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
คอมพิวเตอร์แต่ละระบบส่วนใหญ่จะแยกทำงานกันโดยอิสระ มีเพียงระบบ
คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ใกล้กันเท่านั้นที่สามารถสื่อสารกันด้วยความเร็วต่างจากปัญหาและอุปสรรค
ในการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และความต้องการในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันจึงทำให้เกิดโครงการอาร์พาเน็ต (APPANET)
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
ประเทศไทยได้ติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในลักษณะการใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Email) โดยในปี พ.ศ.2530 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และสถาบันเทคโนโลยี
แห่งเอเชีย (Asian Institute Of Techonlogy หรือ AIT) ได้ติดต่อขอใช้บริการจดหมาย
อิเล็กทรอนิกส์ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ในปี พ.ศ.2530 โดยความร่วมมือระหว่างไทยและ
ออสเตรเลีย ตามโครงการ IDP
ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้จัดตั้งเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายยูยูเน็ต ในปีเดียวกัน
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติได้จัดตั้งเครือข่ายไทยสาร ซึ่งต่อมาได้ต่อ
เครือข่ายของยูยูเน็ต และในปัจจุบันไทยสารได้เชื่อมโยงกับสถาบันต่างๆ ในปี พ.ศ. 2537
การสื่อสารแห่งประเทศไทยได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชนเปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่บุคคลและผู้สนใจ
ทั่วไปได้สมัครเป็นสมาชิก ที่เรียกกันว่า ไอเอสพี
การแทนชื่อที่อยู่ของอินเทอร์เน็ต
(Internet Address)
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อินเทอร์เน็ตจะติดต่อกันโดยใช้มาตรฐานการเสื่อสาร หรือ
โปรโตคอลที่ซีพี/ไอพี (Transmission Control Protocol/Internet Protocol หรือ TCP/IP)
เช่นเดียวกับการส่งจดหมายทางไปรษณีย์ เมื่อจะส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เครื่องคอมพิวเตอร์จ าเป็นที่จะต้องมีหมายเล็กประจ าตัว เรียกว่า IP Address ซึ่งประกอบด้วย
ชุดของตัวเลข 4 ชุด ขนาด 8 บิตเท่ากันทุกชุดรวมกันเป็นหมายเลข IP ขนาด 32 บิต เรียกว่า
ไอดี วี 4 หรือ IPversion 4
การเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต
โดยทั่วไปแล้วหน่วยงานของรัฐและสถาบันการศึกษา
ทั้งของรัฐและเอกชนจะให้บริการแก่ผู้ใช้ โดยเฉพาะ
บุคลากรหน่วยงานนั้น ๆ นอกจากหน่วยงานดังกล่าว
แล้ว ผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ได้มี 2 วิธี คือ การเชื่อมต่อโดยตรง
1. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยตรง (Direct Internet Access)
การเชื่อต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยตรง ผู้ใช้จะต้องมีคอมพิวเตอร์เครือข่ายที่เชื่อมต่อกับ
โครงข่ายหลักหรือแบ็กโบน (Backbone) โดยต้องมีอุปกรณ์ที่ท าหน้าที่เป็นเกตเวย์ (Gateway)
ในการเชื่อมต่อ ซึ่งได้แก่เราเตอร์ (Router) โดยปกติแล้วการเชื่อมต่อในลักษณะนี้มักเป็น
องค์การของรัฐ สถานบันการศึกษาที่อนุญาตให้หน่วยงานอื่นใช้เครือข่าวร่วมกัน
2. การเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์และโมเด็ม (Dial-up Access)
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตประเภทนี้จะใช้สายโทรศัพท์ (Telephone Line) ที่ใช้กันตาม
บ้านหรือที่ท างานทั่วไป โดยจะให้เครื่องคอมพิวเตอร์ติดต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เครือข่ายโดยใช้
อุปกรณ์แปลงสัญญาณที่เรียกว่า โมเด็ม (Modulator/DEModulator หรือ MODEM) เมื่อ
เครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เครือข่ายที่ให้บริการ เช่น ISP แล้ว คอมพิวเตอร์
เครื่องนั้นก็จะสามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ตเสมือนกับการต่อเชื่อมโดยตรง
เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web หรือ WWW)
ในช่วงแรกๆ การบริการข้อูลข่าวสารจะส่งถึงกัน
บนโปโตคอล Telnet และจะใช้ FTP (File Transfer
Protocol) เพื่อการแลกเปลี่ยนส่งไฟล์ ต่อมาได้พัฒนา
โปรแกรมเพื่อให้อินเทอร์เน็ตใช้งานได้ง่ายขึ้น และช่วยให้
ผู้ใช้สามารถสร้างเอกสารบนอินเทร์เน็ตที่เรียกว่า เว็บเพจ
(Web Pages) ที่สามารถเชื่อมโยง (Link) ไปยังเอกสารที่
เกี่ยวข้องกันได้ การเชื่อมโยงเอกสารนี้เรียกว่า
(Hyperlinks) และเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า World Wide
Web (WWW) หรือ W3 หรือ Web
โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ (Web Browser)
โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ บางครั้งก็เรียกสั้น ๆ ว่าเบราเซอร์ ซึ่งก็คือโปรแกรมที่ใช้
แสดงข้อมูลของเว็บเพจ โปรแกรมเว็บเบราเซอร์แรกเป็นโปรแกรมที่สั่งโดยใช้ข้อความ และ
แสดงผลในรูปของข้อความเท่านั้น ต่อมาได้สร้างโปรแกรมรูปแบบกราฟิก เป็นโปรแกรมที่
สามารถแสดงเอกสารที่อยู่ในลักษณะของข้อความและภาพกราฟิกการติดต่อกับผู้ใช้อยู่ใน
ลักษณะของ GUI (Graphical User Interface) ทำให้การใช้งานและแสดงข้อมูลบน
อินเทอร์เน็ตสะดวกง่าย และดึงดูดใจผู้ใช้
การบริการต่างๆบนอินเตอร์เน็ต
การบริการต่างๆบนอินเตอร์เน็ต มีหลายประเภท เพื่ออ านวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ได้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน
1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail)
2. การสนทนาออนไลน์ (Online Chat)
3. เทลเน็ต (Telnet)
4. การขนถ่ายไฟล์ (File Transfer Protocol)
การค้นหาข้อมูลโดยใช้เว็บเบราเซอร์
เทคนิคในการหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
1. วางแผนการหาข้อมูลที่ต้องการ
2. ใช้เครื่องมือค้นหาเว็บไซต์แบบสารบบ
3. ถ้าเครื่องมือค้นหาแบบเดียวให้ผลไม่สมบูรณ์ ให้ใช้
เครื่องมือค้นหาอื่น ๆ ด้วย
4. ระบุคำนามเพื่อการค้นหาให้เฉพาะเจาะจงมากที่สุด
5. ให้แก้ไขค าหลัก (Keywords) ด้วยเครื่องหมาย +
(รวม) และ – (ไม่รวม)
6. การค้นหาวลี
7. ใช้เครื่องหมาย * ช่วยในการค้นหา เช่น retriev*
8. พิมพ์ค าค้นหาเป็นภาษาอังกฤษพิมพ์เล็ก
9. ให้ใส่หัวเรื่องหลักไว้ในส่วนต้นของการค้นหา
10. ให้ป้อนค าค้นหาข้อมูลส่วนที่สนใจให้ได้คำตอบเพียงไม่กี่ข้อ
อินทราเน็ต (Intranets) และเอ็กซ์ทราเน็ต (Extranets)
• อินทราเน็ต เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้ภายในองค์การมีลักษณะคล้ายกับอินเทอร์เน็ต
อินทราเน็ตจะใช้เบราเซอร์ เว็บไซต์ และเว็บเพจเช่นเดียวกับอินเทอร์เน็ตที่ใช้บริการแบบ
สาธารณะ
• เอ็กซ์ทราเน็ต เป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ภายนอก ซึ่ง
องค์การจ านวนมากได้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อการติดต่อระหว่างผู้ผลิต ตัวแทน
จ าหน่วย และลูกค้าในการท าธุรกรรมและการดูรายการสินค้าเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในการ
ด าเนินการ
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือการท าธุรกรรมทุกรูปแบบ (การซื้อขายสินค้า บริการ
การช าระเงิน การโฆษณา และการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น
โทรศัพท์ โทรสาร โทรทัศน์ และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ประเภทของธุรกิจ
1. ธุรกิจแบบบริคและมอร์ต้า (Brick-and-Mortar Business) เป็นธุรกิจแบบดั้งเดิมที่
มีสถานที่จ าน่าย เช่น ร้านค้า แต่จะไม่มีการท าธุกิจอิเล็กทรอนิกส์
2. ธุรกิจแบบคลิกและมอร์ต้า (Click-and Mortar Business) เป็นธุรกิจที่มีร้านค้า
แบบบริคและมอร์ต้ารวมทั้งร้านค้าออนไลน์ที่ช่วยสนับสนุนการด าเนินธุรกิจปกติ
3. ธุรกิจแบบคลิกและคลิก (Click-and Click Business) เป็นธุรกิจที่ไม่มีสถานที่หรือ
ร้านค้าเพื่อการจ าหน่ายสินค้า ผู้ซื้อไม่สามารถที่จะเดินทางไปเลือกซื้อสินค้าได้ เนื่องจาก
ร้านค้ามีเฉพาะบนเว็บเท่านั้น เช่น amazon.com
เราสามารถแบ่งประเภทของธุรกิจตามหมวดหมู่ของสินค้าและการให้บริการได้ ดังนี้
- ธุรกิจสื่อสาร
- ธุรกิจโฆษณา
- ธุรกิจการซื้อและจัดส่งสินค้า
- ธุรกิจการศึกษาทางไกล
- ธุรกิจฐานข้อมูลออนไลน
- ธุรกิจการประมูลสินค้า
- ธุรกิจการค้าอิเล็กทรอนิกส์
- ธุรกิจด้านการเงิน
- ธุรกิจให้บริการด้านการท่องเที่ยว
- ธุรกิจซื้อขายหุ้นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1. ธุรกิจกับธุรกิจ(Business to Business) หรือ B-to-B หรือ B2B เป็นการท า
ธุรกรรมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มุ่งเน้นให้บริการกับลูกค้าที่เป็นองกรธุรกิจด้วยกันร
2. ธุรกิจกับลูกค้า(Business to Customer) หรือ B-to-C หรือ B2C เป็นการท า
ธุรกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้ขายที่เป็นองค์การธุรกิจกับผู้ซื้อหรือลูกค้าแต่ละคน
3. ธุรกิจกับภาครัฐ(Business to Goverment) หรือ B-to-G หรือ B2G เป็นการท า
ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างธุรกิจเอกชนกับภาครัฐ
4. ลูกค้ากับลูกค้า (Customer to Customer) หรือ C-to-C หรือ C2C เป็นการท า
ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้บริโภคด้วยกัน ซึ่งการแลกเปลี่ยนและซื้อ-ขายสินค้าอาจ
ท าผ่านเว็บไซต์
5. ภาครัฐกับประชาชน(Goverment to Customer) หรือ G-to-C หรือ
G2C กิจกรรมที่เกิดขึ้นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่เน้น
การให้บริการกับประชาชนโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นนโยบายหนึ่งของรัฐบาล
โครงสร้างของระบบภาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1. หน้าร้าน(Srorefront) ใช้ส าหรับแสดงข้อมูลสินค้าทั้งหมดของร้านค้า รวมถึง
ระบบค้นหาข้อมูลสินค้า
2.ระบบตะกร้ารับค าสั่งซื้อ(Shopping Cart System) เป็นระบบที่ต่อเนื่องจากหน้า
ร้าน เมื่อลูกค้าต้องการสั่งซื้อสินค้า โดยคลิกที่ข้อความ "สั่งซื้อ" หรือสัญลักษณ์รูปตะกร้าหรือ
รถเข็นก็จะปรากฏรายการสินค้าที่ลูกค้าต้องการในหน้าตะกร้า พร้อมค านวณค่าใช้จ่ายทั้งหมด
3.ระบบการช าระเงิน(Payment System) มีหลายรูปแบบ เช่น การโอนเงินเข้าบัญชี
ธนาคาร การช าระด้วยบัตรเครดิต
4.ระบบสมัครสมาชิก(Member System) เป็นการบันทึกข้อมูลลูกค้าที่ต้องการสมัคร
เป็นสมาชิก และร้านค้ายังสามารถน าข้อมูลลูกค้าไปใช้ประโยชน์ในระบบบริหารลูกค้าสัมพันธ์
(Customer Relationship Management :CRM) ได้อีกด้วย
5.ระบบขนส่ง(Transportation System) เป็นระบบการจัดส่งสินค้าให้ถึงลูกค้า โดย
ต้องมีทางเลือกหลายทางให้กับลูกค้า
6.ระบบติดตามค าสั่งซื้อ(Order Tracking System) โดยลูกค้าจะได้หมายเลขค าสั่ง
ซื้อ(Order Number) หากลูกค้าต้องการทราบว่าสินค้าที่สั่งอยู่ในขั้นตอนไหน ก็สามารถใช้
หมายเลขดังกล่าวเข้าไปตรวจสอบสถานะของสินค้าได
กระบวนการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1. การค้นหาข้อมูล
2. การสั่งซื้อสินค้า
3. การช าระเงิน
4. การส่งมอบสินค้า
5. การให้บริการหลังการขาย
แหล่งที่มา
file:///C:/Users/2210/Downloads/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%205.pdf
https://sites.google.com/site/vgcgghhj/home/bth-thi-5
แหล่งที่มา
file:///C:/Users/2210/Downloads/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%205.pdf
https://sites.google.com/site/vgcgghhj/home/bth-thi-5
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น